การออกแบบงานติดตั้งเหล็กเสริมโครงสร้างชนิดติดตั้งภายหลัง
แนวทางการออกแบบงานติดตั้งเหล็กเสริมโครงสร้าง
ระยะฝังยึดที่ตื้นขึ้น
งานในลักษณะนี้เป็นงานติดตั้งเหล็กเสริมโครงสร้างชนิดติดตั้งภายหลังที่พบได้บ่อยที่สุด โดยครอบคลุมถึงการต่อเชื่อมโครงสร้างใหม่เข้ากับโครงสร้างที่มีอยู่เดิม
ข้อกำหนดและมาตรฐานบังคับเกี่ยวกับงานโครงสร้างคอนกรีตของอาคารระบุไว้ว่า เหล็กเสริมชนิดติดตั้งก่อนนั้นจะมีกำลังยึดหน่วงจำกัด ถึงแม้ว่าจะมีระยะคอนกรีตหุ้มค่อนข้างมากก็ตาม
ดังนั้น ในบางจุด เช่น ผนังที่มักจะมีระยะฝังยึดที่จำกัดจึงมักจำเป็นต้องมีการเชื่อมเหล็กเสริมตามแนวขวางหรือข้องอเพื่อชดเชยการที่มีระยะฝังยึดน้อย
งานวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า เหล็กเสริมโครงสร้างที่ได้รับการติดตั้งด้วยน้ำยาเคมีของฮิลติจะมีกำลังยึดหน่วงที่สูงกว่าเหล็กเสริมแบบหล่อฝังในที่ หากมีระยะคอนกรีตหุ้มเพียงพอ
การออกแบบงานติดตั้งเหล็กเสริมโครงสร้างด้วยวิธี Hilti HIT Rebar Design Method จะทำให้โครงสร้างของคุณได้รับประโยชน์จากกำลังยึดที่สูงขึ้นแม้มีระยะฝังยึดที่จำกัด โดยที่คุณภาพงานติดตั้งและค่าการรับกำลังยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ทำหนดไว้
Eurocode 2 solution
Hilti HIT rebar design method
จุดยึดแบบแข็งโดยใช้เหล็กตรง
ในบางครั้งเหล็กเสริมโครงสร้างอาจจำเป็นต้องมีการดัดงอเพื่อต้านทานแรงในจุดต่อแบบแข็ง ตัวอย่างเช่น จุดต่อระหว่างแผ่นพื้นกับผนัง คานกับแผ่นพื้น คานกับผนัง และเสากับฐานราก
แต่ฮิลติมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ได้
เราได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งมิวนิกและมหาวิทยาลัยอเมริกาแห่งเบรุตเกี่ยวกับวิธีการใช้เหล็กตรงในจุดต่อแบบแข็ง โดยวิธีการที่เราใช้นั้นมีพื้นฐานมาจากแบบจำลองแขนค้ำยันและตัวยึด (Strut-and-Tie Model)
เหล็กเสริมโครงสร้างสำหรับรับแรงเฉือน
เหล็กเสริมโครงสร้างสำหรับรับแรงเฉือนมีหน้าที่หลักสำหรับการฟื้นฟูสภาพและเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างเก่า รวมถึงสะพาน
ฮิลติได้พัฒนาวิธีการใหม่ที่ง่ายยิ่งขึ้นในการติดตั้งเหล็กเสริมโครงสร้างที่สามารถรับแรงเฉือนได้ โดยทำเพียงแค่ติดตั้งชิ้นยึดจากด้านล่างของแผ่นพื้นเท่านั้น คุณสามารถใช้วิธีนี้ได้โดยเลือกใช้ชิ้นยึดรับแรงดึง HZA-P จากฮิลติ และใช้มอทาร์ของฮิลติในการยึดชิ้นยึดเข้ากับรูเจาะเอียงเข้าหาเสา
วิธีการนี้ทำได้ง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับการติดตั้งเหล็กเสริมรับแรงเฉือนเจาะแบบเดิม ซึ่งต้องมีการเจาะรูในแผ่นพื้นพร้อมกันทั้งจากด้านบนและด้านล่าง และเป็นขั้นตอนที่ทำได้ยากเนื่องจากจะต้องถอดแผ่นปิดของแผ่นพื้นออก นอกจากนั้นแล้ว ในกรณีส่วนใหญ่ มักจะไม่สามารถเข้าถึงด้านบนของแผ่นพื้นเพื่อเจาะรูได้
Eurocode 2 solution
Hilti design solution
คอนกรีตทับหน้า
ฮิลติมีการพัฒนาวิธีการเฉพาะในการรับแรงเสียดทานเฉือนสำหรับคอนกรีตทับหน้าพื้นสะพาน
การซ่อมหรือเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างมักจะทำโดยการเทชั้นคอนกรีตลงไปบนคอนกรีตที่มีอยู่เดิม ประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาสำหรับวิธีการนี้คือ การถ่ายหน่วยแรงภายในข้ามชั้นยึดหน่วงระหว่างชั้นคอนกรีตเดิมและชั้นคอนกรีตใหม่
ฮิลติมีการพัฒนาวิธีการออกแบบเพื่อรับการถ่ายแรงเฉือนประสิทธิผลสำหรับโครงสร้างดังกล่าว โดยพิจารณารวมถึงความต้านทานการยึดเหนี่ยว การเสียดทาน และแรงเฉือนของเหล็กเสริมรับแรงเฉือนระหว่างคอนกรีตทั้งสองชั้น วิธีการนี้มีข้อดี ได้แก่:
- นำไปใช้ในกรณีต่างๆ ได้ง่ายและสามารถเชื่อถือได้
- รับประกันได้ว่า ส่วนประกอบจะมีลักษณะทางโครงสร้างเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
- สามารถถ่ายแรงเฉือนได้อย่างเชื่อถือได้ แม้จะเกิดการร้าวที่รอยต่อระหว่างชั้น
- นำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
Eurocode 2 solution
Hilti design solution